เทียบระดับ

กศน.เมืองปทุมธานี รับสมัครนักศึกษาเทียบระดับ ประถม ม.ต้น ม.ปลาย 27 พ.ค. - 15 ก.ค.53

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

MQ


MQ ความฉลาดทางจริยธรรม
MQ ในระดับดีนั้น จำเป็นต้องได้รับการปลูกฝังให้มีพื้นฐานตั้งแต่วัยเยาว์ โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก
ดิฉันได้รับจุลสารพัฒนาข้าราชการพลเรือน ฉบับเดือนเมษายน-พฤษภาคม เมื่อตอนที่เข้าอบรม นบก. อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นวารสารที่มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มาก....มีหลายเรื่องที่อยากนำมาถ่ายทอดต่อคิดว่าจะเป็นสาระที่มีข้อคิด และนำมาปรับปรุงตนเองได้.... อย่างเช่นเรื่อง MQ ความฉลาดทางจริยธรรม.. ลองอ่านดูนะคะ.....
"ท่ามกลางสังคมที่อยู่ในสถานการณ์ของความเสื่อมถอยทางจริยธรรมในจิตใจคน สิ่งที่เราทำได้ง่ายที่สุดคือ การหยุดคิดและทบทวนการกระทำของเราเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้เราหลงทาง และอ้างความชอบธรรมจากการกระทำที่ไม่ถูกไม่ควร"
ความฉลาดทางจริยธรรม หรือที่รู้จักในนาม MQ (Moral Oral Quotient) หมายถึง ความฉลาดทางจริยธรรมหรือศีลธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมี นอกเหนือไปจาก IQ ความฉลาดทางสติปัญญา หรือ MQ ความฉลาดทางอารมณ์ หรือความฉลาดในการเข้าใจและควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ของตนเอง
MQ นอกจากจะหมายถึงคุณธรรมที่ดี อีกมุมหนึ่งหมายถึง ระดับความเห็นแก่ตัวด้วย การมีความฉลาดทางจริยธรรม ย่อมส่งผลให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ ไม่เห็นแก่ตัว คิดดี ทำดี และพูดดีด้วย มีความเมตตาปรานีและรู้จักให้อภัย ลักษณะนิสัยดังกล่าว ไม่สามารถฝึกฝนได้ในช่วงเวลาสั้นๆ การที่บุคคลหนึ่งจะมี MQ ในระดับดีนั้น จำเป็นต้องได้รับการปลูกฝังให้มีพื้นฐานตั้งแต่วัยเยาว์ โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก หากเด็กได้รับการปลูกฝังด้านศีลธรรม การรู้จักให้ความรัก และการปลูกฝัง MQ ตั้งแต่วัยเยาว์ โดยการสอน หรือ การปฏิบัติตนของผู้ใหญ่ให้เป็นตัวอย่าง จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้บุคคลสามารถพัฒนา MQ ได้ในระดับหนึ่ง ส่วนจะฝังลึกลงไปในจิตสำนึกมากน้อยแค่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการำด้รับการปลูหฝัง ซึ่งจะรอการกระตุ้นอีกครั้งเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ได้รับการอบรมพัฒนาเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นในด้านการฟัง เช่น การฟังเทศน์ ฟังธรรม ฯลฯ การอ่านหนังสือธรรมะ เป็นต้น เพราะการปลูกฝังที่ไม่เท่ากันนี้เอง ทำให้พบว่าเราทุกคนต่างมีเพื่อนที่มีระดับคุณธรรมจริยธรรมไม่เท่ากัน ทั้งๆที่ บางคนเรียนจบมาจากสถาบันเดียวกัน และยิ่งหากบุคคลใดไม่มีอยู่ในจิตสำนึกดั้งเดิมแล้ว ไม่ว่าโตขึ้นจะได้รับการกระตุ้นอย่างไร ก็ไม่สามารถ ทำให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นคนดีขึ้นมาได้
การพิจารณาบุคคลตามลักษณะของ 3 Q แบ่งเป็น 8 ประเภท
ประเภทที่ 1 IQ สูง EQ สูง MQ สูง เรียกว่าเลิศไปทุกด้าน เป็นบุคคลตัวอย่าง
ประเภทที่ 2 IQ สูง EQ สูง แต่ MQ ต่ำ เป็นบุคคลประเภทฉลาด ความรู้ดี แต่ขี้โกง ฉลาดแกมโกง อารมณ์ดี เก็บความรู้สึกเก่ง ไม่คำนึงถึงศีลธรรม
ประเภทที่ 3 IQ สูง EQ ต่ำ MQ สูง เป็นคนมีความรู้ดี แต่อารมณ์อ่อนไหว ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ โกรธง่าย แต่เป็นคนซื่อตรงไม่คดโกง ไม่ทำร้ายใคร เข้าตำราปากร้ายใจดี
ประเภทที่ 4 IQ ต่ำ แต่ EQ สูง และ MQ สูง เป็นประเภทมีความรู้น้อยแต่ก็สุขุม ควบคุมอารมณ์ได้ ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม
ประเภทที่ 5 IQ ต่ำ EQ ต่ำ แต่ MQ สูง เป็นคนมีความรู้น้อย ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ ขี้โมโห แต่ก็เป็นคนซื่อตรงไม่คดโกง ปากร้ายใจดี
ประเภทที่ 6 IQ ต่ำ EQ สูง MQ ต่ำ ประเภทนี้หายากแต่ก็พอมี ลักษณะเป็นคนที่มีสติปัญญาค่อนข้างต่ำ เรียนไม่เก่ง คิดไม่ค่อยทันชาวบ้าน มีนิสัยเป็นคนใจเย็น แต่อาจทำอะไรโดยขาดเหตุผล ไม่ค่อยใช้ความคิดจึงทำผิดศีลธรรมได้ง่าย เช่น การลักเล็กขโมยน้อย หรืออาจเป็นคนปัญญาอ่อน ที่ทำอะไรผิดเพราะขาดความยั้งคิด
ประเภทที่ 7 IQ สูง แต่ EQ และ MQ ต่ำ มีความรู้ดี ฉลาด ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยได้ ทั้งยังไม่คำนึงถึงศีลธรรม เป็นตัวโกงในอุดมคติของลิเกไทย จอมวางแผนชั่วร้าย
ประเภทที่ 8 IQ EQ และ MQ ต่ำ แบบนี้คงหายาก เพราะไม่มีส่วนดีเลย ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ การควบคุมอารมณ์ และระดับจริยธรรมในใจ อาจจะเป็นคนที่มีปัญหาทางจิตหรือโรคจิต
เชื่อว่าต่อไปนี้..นอกจากท่านจะให้คำตอบแก่ตัวเองได้แล้ว...ท่านคงไม่สงสัยพฤติกรรมของคนที่รู้จัก/ใกล้ชิดกันอีก ....ที่สำคัญเมื่อรู้แล้วควรหมั่นนำมาใช้ตรวจสอบทบทวนตัวเองเป็นระยะๆ กันดีไหม....
"ที่มา...มุมจริยธรรม..จุลสารพัฒนาข้าราชการพลเรือน ฉบับเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2549"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น