เทียบระดับ

กศน.เมืองปทุมธานี รับสมัครนักศึกษาเทียบระดับ ประถม ม.ต้น ม.ปลาย 27 พ.ค. - 15 ก.ค.53

ประวัติ กศน.

กศน. หรือ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานซึ่งสมัยก่อนมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาของผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือซึ่งในปี พ.ศ. 2481 รัฐบาลพลเรือตรีพิบูลย์สงคราม ได้นำเอานโยบายการศึกษาผู้ใหญ่มาดำเนินการต่อจากรัฐบาลชุดก่อนที่มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี มาใช้อย่างจริงจังในการสอนผู้ใหญ่ให้รู้หนังสือ อ่านออกเขียนได้ และเข้าใจในหน้าที่พลเมือง (กรมการศึกษานอกโรงเรียน. 2527 : 37) การดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนได้ดำเนินการต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2512 องค์การศึกษาโลก ( World Education Inc ) ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยงานการศึกษาผู้ใหญ่ในประเทศไทย ได้มีการเสนอให้มีการปรับปรุงการเรียนการสอนผู้ใหญ่แบบสมกิจเสียใหม่ โดยให้สอดคล้องกับการวางแผนครอบครัวไปด้วย ประกอบกับในปี 2513 องค์การศึกษาโลก ( World Education Inc ) จัดให้มีการประชุมเกี่ยวกับการศึกษาผู้ใหญ่ขึ้นที่ประเทศอินโดนีเชีย มติที่ประชุมมีมติให้สอนให้ผู้ใหญ่รู้หนังสือควบคู่ไปกับการวางแผนครอบครัวด้วย ดังนั้น ประเทศไทยจึงนำแนวคิดดังกล่าวมาปรับปรุงการศึกษาผู้ใหญ่ของไทยโดยเรียนว่า “การศึกษาผู้ใหญ่ขั้นพื้นฐานแบบเบ็ดเสร็จ” (กรมการศึกษานอกโรงเรียน. 2528 : 13 - 14) ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2524 กองการศึกษาผู้ใหญ่ยกระดับเป็นกรมการศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. มีการกระจายการบริหารไปสู่ส่วนภูมิภาค จัดให้มีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำภาคและประจำจังหวัดขึ้น โดยเรียนว่าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ( เพ็ญณี แนรอทและคณะ. 2547 : 14) ใน ปี พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือเรียกชื่อย่อว่า กศน. ส่วนกลางมีสำนักงาน กศน. รับผิดชอบในการบริหารจัดการ ระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร มี สำนักงาน กศน.จังหวัดและสำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร บริหารจัดการ และในระดับอำเภอมี กศน.อำเภอเป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดและสำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานครดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มาตรา 17 ( 2 ) กำหนดให้สำนักงาน กศน.จังหวัดทำหน้าที่เป็นหน่วยงายธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด และมีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภายในจังหวัด (กระทรวงศึกษาธิการ 2551 : 32)